วันเสาร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2560

ภารกิจพิเศษ สรุปเนื้อหาวรรณกรรมท้องถิ่น เรื่อพญาคันคาก

เรื่อง พญาคันคาก

จัดทำโดย 

นางสาวสุพัตรา จันทะบาล ปี 3 หมู่ 2 
รหัสนักศึกษา 57210406222

เสนอ

อาจารย์วัชรวร วงศ์กัณหา
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่น
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559

มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำนำ

        รายงาน เรื่องพญาคันคาก เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่นระดับปริญญาตรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องพญาคันคากที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการต่อสู้ การต้องการความเป็นใหญ่ การแย่งชิงซึ่งอำนาจบารมีและยังทรอดแทรกคติเตือนใจไว้ในเนื้อเรืองมากมายพร้อมทั้งศึกษาเกี่ยวกับประวิตฺความเป็นมาของหนังสือ
        ผู้จัดทำต้องของขอบคุณอาจาย์วัชรวร วงศ์กัณหา ผู้ให้ความรู้ ชี้แนะแนวทางในการศึกษาและคอยแนะนำติชมมาโดยตลอดผู้จัดทำรายงานฉับนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย
                                                                                                                                     ผู้จัดทำ
นางสาวสุพัตรา จันทะบาล

สารบัญ

เรื่อง

บทที่1 สรุปเนื้อหานิทานพื้นบ้านเรื่องพญาคันคาก
ที่มาและความสำคัญ
ประวัติหนังสือ/ผู้แต่ง/ปีที่แต่ง/สำนักพิมพ์
บทที่2 วิเคราะห์ชื่อและเนื้อหาในวรรณกรรมเรื่องพญาคันคาก
2.1 ที่มาของชื่อเรื่อง
2.2 แก่นเรื่อง
2.3 โครงเรื่อง
2.4 ตัวละคร
2.5 ภาษา
2.6 ฉากและสถานที่
บทที่3 ความโดดเด่นของโครงเรื่อง

บทที่4 การนำไปประยุกต์ใช้

บทที่1 สรุปเนื้อหาวิชาพื้นบ้าน

พระนางสีดา มเหสีแห่งพญาเอกราชเจ้าเมืองอินทปัตถ์นคร ได้ประสูติพระโอรส ซึ่งมีผิวพรรณเหลืองอร่ามดั่งทองคำ แต่ว่ามีผิวหนังดุจคางคก และในวันที่พระกุมารประสูติ เกิดอัศจรรย์ ขึ้นบนพื้นโลก ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เปรี้ยงปร้าง ลมพายุพัดต้นไม้หักล้มระเนระนาด เสียงดังสนั่นหวั่นไหวราวกับว่าโลกจะถล่มทลาย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของผู้มีบุญลงมาเกิด พระยาเอกราชได้จัดหาหญิงสาว ที่มีลักษณะดี เช่น มีถันเต่งตึงกลมงาม มาเป็นแม่เลี้ยงนางนมแก่พระกุมาร เมื่อพระกุมารเจริญวัยเติบใหญ่เป็นหนุ่ม ก็คิดอยากจะได้คู่ครอง และอยากได้ปราสาทเสาเดียวไว้เป็นที่ประทับ จึงเข้าเฝ้าและทูลขอให้ พระบิดาช่วย ฝ่ายบิดาเห็นว่าพระโอรสของตนมีรูปร่างผิดแผกแตกต่างไปจากคนทั่วไป คงไม่มีหญิงใดปรารถนาจะได้เป็นคู่ครอง จึงทรงบอกให้พระกุมารเลิกล้มความคิดเช่นนั้นเสียโดยให้เหตุผลว่าพระกุมารมีรูปร่างอัปลักษณ์ ทำให้พระกุมารเสียพระทัยยิ่งนัก ต่อมาในกลางดึกสงัดของคืนวันหนึ่ง พระกุมาร จึงตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าตนเคยได้สร้าง สมบุญบารมีมา ก็ขอให้สำเร็จดังความปรารถนาด้วยเถิด ด้วยแรงอธิษฐานทำให้บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ซึ่งเป็นที่ประทับนั่งของพระอินทร์เกิดแข็งกระด้างขึ้น พระอินทร์จึงลงมาเนรมิตปราสาทเสาเดียวอันงดงามหาที่เปรียบไม่ได้ พร้อมด้วยข้าทาสบริวาร เครื่องอุปโภคบริโภค ซึ่งล้วนแล้วไปด้วยทิพย์ปานประหนึ่งเมืองสวรรค์ และยังได้เอานางแก้วจากอุดรกุรุทวีปมามอบให้เป็นคู่ครอง ก่อนจาก ได้เนรมิตพระกุมาร ให้เป็นชายหนุ่มรูปงาม พญาเอกราชเห็นประจักษ์ในบุญบารมีของลูก จึงยกราชสมบัติบ้านเมืองให้ครอบครอง เมื่อพระกุมารได้ครองราชย์แล้ว เจ้าเมืองทั้งหลายในชมพูทวีปต่างก็มาขออยู่ภายใต้ ร่มบารมี แม้พวกพญาครุฑ พญานาค พญาหงส์ เหล่าสัตว์น้อยใหญ่ เช่น ช้าง ม้า เสือ สิงห์ กระทิง แรด ลงไปถึงกบ เขียด อึ่งอ่าง คางคก ผึ้ง ต่อ แตน มด ปลวก ต่างก็พากันมาถวายตัวเป็นบริวารจนหมดสิ้น ทำความไม่พอใจให้พญาแถนเป็นยิ่งนัก พญาแถนจึงไม่ยอมให้พวกพญานาคลงเล่นน้ำ เป็นเหตุ ให้เกิดความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกลงมายังโลกมนุษย์เป็นเวลาหลายปี ทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารเหี่ยวเฉา ตาย มนุษย์และเหล่าสัตว์ต่างพากันเดือดร้อน จึงไปทูลให้พญาคันคากทราบ พญาคันคากจึงไปยังเมืองบาดาลถามพวกนาคดู เมื่อรู้เหตุที่ทำให้ฝนแล้งแล้ว พญาคันคากจึงยกทัพอันประกอบไปด้วยมนุษย์ และเหล่าสัตว์ทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกขึ้นไปทำสงครามกับพวกพญาแถนพญาคันคากกับพญาแถน ได้ต่อสู้กันด้วยอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ เมื่อพญาแถน เห็นว่า จะเอาชนะพญาคันคากด้วยฤทธิ์เดชไม่ได้ จึงท้าให้ชนช้างกัน ในที่สุดพญาคันคากชนะ จึงจับพญาแถนและให้พญานาคจับมัดไว้ พญาแถนจึงขอยอมแพ้ และขอมอบถวายบ้านเมืองให้ และสัญญาว่าจะส่ง น้ำฝนลงมาให้ตามฤดูกาลดังเดิม และจะลงมาปลูกพันธุ์ข้าวทิพย์ลูกเท่ามะพร้าวให้ นับแต่นั้นเป็นต้นมา พอถึงฤดูกาลทำนา ฝนก็ตกลงมายังให้ความชุ่มชื้นแก่แผ่นดินเป็นประจำทุกปี พญาคันคาก ปกครองบ้านเมืองด้วยหลักทศพิธราชธรรม ถือศีลภาวนา สร้างบุญกุศล อยู่มิได้ขาด ทำให้ชาวประชาร่มเย็นเป็นสุขกันถ้วนหน้า พระองค์ทรงพระชนมายุได้แสนปีจึงสวรรคต หลังจากนั้นเป็นต้นมา ชาวโลกก็ได้อาศัยหนทางที่ พระยาคันคากสร้างไว้ขึ้นไปเรียนเอาเวทย์มนต์คาถาจากพวกพญาแถน เมื่อลงมายังโลกแล้วก็ใช้คาถาอาคมที่ตนเองเรียนมาจากครูบาอาจารย์เดียวกันรบราฆ่าฟันกันล้มตายเป็นจำนวนมากต่อมาก และพวกมนุษย์ยังพากันเกียจคร้านไม่เอาใจใส่เรือกสวนไร่นา เมื่อข้าวกล้าที่พญาแถนปลูกไว้ตามที่สัญญากับพญาคันคากสุกแก่เต็มที่แล้ว ก็ไม่พากันทำยุ้งฉางไว้ใส่ มิหนำซ้ำ ยังพากันโกรธแค้นที่ให้เมล็ดข้าวเท่าลูกมะพร้าว จึงช่วยกันสับฟัน จนแตกเป็นเม็ดเล็ก เม็ดน้อย เมล็ดข้าวจึงกลายเป็นเมล็ดเล็ก ๆ ดังที่เห็นในปัจจุบันนี้ จากนั้นมาข้าวจึงไม่เกิดเอง มนุษย์ต้องหว่าน ไถ ปัก ดำ จึงจะได้ข้าวมากิน เมื่อพญาแถนเห็นชาวโลกละเลยศีลธรรม ไม่ตั้ง ตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม พญาแถนจึงทำลายเส้นทางติดต่อระหว่างชาวโลกกับพวกแถนเสีย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชาวโลกจึงไม่อาจขึ้นไปยังเมืองฟ้าพญาแถนได้อีก
1.1ที่มาและความสำคัญ
วรรณกรรมเรื่องพญาคันคากเป็นวรรณกรรมของชาวอีสาน ที่มีความน่าสนใจ สำนวนภาษาเป็นคำกลอนอีสานที่อ่านเข้าใจง่าย มีเนื้อเรื่องน่าสนใจที่มาของประเพณีสำคัญของอีสาน และยังมีตัวละครเอกของเรื่องที่น่าสนใจและเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดี ได้แก่ พญาคันคาก ที่มีลักษณะรูปร่างภายนอกเหมือนคางคก และพญาแถนผู้มีอำนาจ คอยปกป้องชาวเมืองอยู่บนเมืองแถน ด้วยเนื้อเรื่องที่น่าสนใจทำให้มีการดัดแปลงนำไปทำเป็นนิทานสำหรับเด็กและการ์ตูนสำหรับเด็กมากมาย
2                     1.2 ประวัติหนังสือ/ผู้แต่ง/ปีที่แต่ง/สำนักพิมพ์
ต้นฉบับ เป็นคัมภีร์ใบลานได้มาจากวัดโจดนาห่อม ต. คลีกลิ้ง อ. ราศีไศล จ.ศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2535 โดย ผศ.ดร. วยุพา ทศะ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้นำฉบับที่ถอดความออกจากใบลานไปมอบถวายผู้ที่แต่เรียบเรียงขึ้นใหม่ โดย เตชวโร ภิกขุ (อินตา กวีวงศ์) น..เอก เจ้าอาวาสวัดสะอาดสมบูรณ์ ต.สะอาดสมบูรณ์ อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด แต่งในปี พ..2543 ในสมัยรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยสำนักพิมพ์ บริษัท ขอนแก่นคลังนานาธรรม จำกัด เป็นผู้จัดพิมพ์จำหน่าย

บทที่2 วิเคราะห์ชื่อเรื่องในวรรณกรรมเรื่องพญาคันคาก

2.1 ที่มาของชื่อเรื่อง
วรรณกรรมท้องถิ่น เรื่องพญาคันคาก นั้นมี่ชื่อเรื่องตามตัวละครเอกของเรื่องนั่นคือ พญาคันคาก ที่มีรูปร่างลักษณะภายนอกตะปุ่มตะป่ำเหมือนกับคากคก และมีพลังอำนาจ มีบารมากมาย
2.2 แก่นเรื่อง
เกลือจิ้มเกลือ เปรียบดั่งพยาคันคากกับพญาแถนที่คิดแก้แค้นกันโดยไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีใครยอมใคร
2.3 โครงเรื่อง
การเปิดเรื่อง
-         - กล่าวถึงเมืองอินทปัตถ์ ที่ปกครองโดยเจ้าจอมธรรมเอกราชและมีมเหสีชื่อว่านางสีดา
-         - มีพระโอรสรูปร่างภายนอกมีผิวกายเหมือนคางคก มีร่างกายสีเหลืองทอง ผู้คนจึงเรียกว่า พญาคันคาก
-         - เมื่อโตขึ้นอายุครบ ๒๐ ปี ก็มีความประสงค์อยากได้คูครองเคียงกายและอ้อนวอนพระบิดา แต่พระบิดาปฏิเสธจึงขอพรจากพระอิทร์ และด้วยบารมีพระอินทร์จึงประทานนางแก้วอุดรกรทวีปแก่พญาคันคาก และมีปราสาทแก้วทองคำเป็นที่ประทับ
-         - ด้วยบารมีชาวเมืองต่างมาเคารพบูชา ชื่นชมในบารมีจนลืมบูชาพญาแถน ทำให้พญาแถนโกรธและไม่ให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล จนเกิดความเดือดร้อน
-         - พญาคันคากเมื่อรู้ว่าต้นเหตุมาจากพญาแถน จึงรวมพลสัตว์ต่าง ๆสร้างทางขึ้นไปเมืองแถนและไปรบกับพญาแถน
-         - พญาแถนต้องพ่ายแพ้ให้กับพญาคันคาก ด้วยความฉลาดหลักแหลม จึงยอมทำให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลดังเดิม
จุดสูงสุด
-          พญาคันคากไปรบกับพญาแถนและพญาแถนแพ้จึงจำต้องยอมแพ้
จุดจบของเรื่อง
-         พญาแถนยอมแพ้ต่อพญาคันคากและยอมให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล
2.4 ตัวละคร
- พญาคันคาก เป็นตัวเอกของเรื่อง มีความมานะอดทน และมีความมุ่งมั่น พยายาม มีปฏิภาณไหวพริบ มีความฉลาดหลักแหลม เป็นผู้ที่มีวาสนา มีบุญบารมี และเป็นที่พึ่งให้กับชาวเมืองได้
- พญาแถน เป็นตัวรองจากพญาคันคากเป็นผู้ที่มีอำนาจ ต้องการความยิ่งใหญ่และอยากให้ชาวเมืองเคารพบูชาตนเอง เป็นคนเจ้าคิดเจ้าแค้นต้องการเพียงชัยชนะ
- เจ้าจอมธรรมราชา เป็นบิดาของพญาคันคาก ที่ปกครองเมืองอินทปัตถ์ เป็นผู้ที่มีความเป็นธรรม ปกครองชาวเมืองด้วยความสงบสุขเรื่อยมา
- นางสีดา เป็นมารดารของพญาคันคากเป็นผู้มีบุญวาสนา แต่ไม่เชื่อคำทักท้วงของใครง่าย ๆ
2.5 ภาษา
ภาษาที่ใช้ในการแต่งวรรณกรรมท้องถิ่นอีสานเรื่องพญาคันคาก เป็นภาษาอีสานโดยเป็นคำกลอนอีสานทั้งเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ มีการใช้คำราชาศัพท์ในเนื้อเรื่องและนอกจากนี้ยังมีภาษาที่เป็นทางการบ้างเล็กน้อย แต่โดยส่วนใหญ่จะเป็นภาษาอีสาน
2.6 ฉาก/สถานที่
- เมืองอินทปัตถ์ เป็นเมืองของพญาคันคากโดยมีเจ้าจอมธรรมราชาเป็นผู้ปกครอง เป็นเมืองที่มีความสงบสุขร่มเย็น ชาวเมืองต่างรักใคร่สามัคคี
- เมืองบาดาล เป็นเมืองของพญานาค มีพญานาคมากมายที่อาศัยอยู่และคอยทำหน้าที่เป็นผู้ที่ทำให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล
-เมืองแถน เป็นเมืองของพญาแถนที่ปกครองโดยพญาแถน เป็นผู้ที่ชาวเมืองเคารพนับถือเรื่อยมา และคอยปกปักรักษาชาวเมือง

บทที่ 3 ความโดเด่นของโครงเรื่อง

วรรณกรรมท้องถิ่นอีสานเรื่อง พญาคันคาก เป็นเรื่องที่ใช้ภาษาอีสานในการแต่งตั้งแต่ต้นจนจบเรื่องโดยเป็นคำกลอนอีสาน โครงเรื่องดำเนินไปเรื่อย ๆ ตามลำดับ มีตัวดำเนินเรื่องหลักคือพญาคันคากและพญานแถน โดยจุดสูงสุดของเรื่องคือการรบกันระหว่างพญาคันคากและพญาแถน นอกจากนี้เนื้อเรื่องยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับประเพณีวัฒนธรรมอีสานที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี นั้นคือ ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวอีสาน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
       บทที่ 4 การนำไปประยุกต์ใช้
            วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน เรื่องพญาคันคาก เป็นวรรณกรรมที่มีความน่าสนใจ สอดแทรกข้อคิดคติสอนใจในการนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี นั้นคือการรู้จักให้อภัยผู้อื่น รักความสงบ ไม่เจ้าคิดเจ้าแค้นหวังเพียงชัยชนะและความเป็นใหญ่ นอกจากนี้ตัวบทเรื่องพญาคันคากยังมีการนำไปประยุกต์ใช้โดยการนำไปทำเป็นหนังสือนิทานสำหรับเด็ก และการ์ตูนสามมิติสำหรับเด็ก ซึ่งสามารับชมได้ทางYoutoub
        ยกตัวอย่าง
ตัวบทวรรณกรรม เรื่องพญาคันคากที่นำไปประยุกต์เป็นนิทานสำหรับเด็กและการ์ตูน
 





สรุปท้ายเรื่อง อินโฟกราฟฟิค


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น